วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2



ทฤษฎีการบริหารการศึกษา
มาสโลว์ กับทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ อันเป็นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งมาสโลว์ได้แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้ ความต้องการทางกายภาพ ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการยกย่องชื่อเสียง ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิตDouglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ทฤษฎีการมองต่างมุม
ทฤษฎี X เป็นพวกที่ไม่เกิดการพัฒนาตนเอง ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบทำงาน หลีกเลี่ยงการทำงานทฤษฎี Y เป็นพวกที่พัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน
แมคเกรเกอร์จึงเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงมุมมองจากทฤษฎี X เป็นทฤษฎี Y
William Ouchi : ทฤษฎี Z กลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นการบริหารจัดการจากพื้นฐานของบุคคล
ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบจ้างงานตลอดชีวิตและการตัดสินต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุม วิลเลี่ยม โอชิ นำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z
Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่ประกอบด้วยกิจกรรม 5 อย่างคือ
1. การวางแผน(Planning)
2. การจัดองค์การ(Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)
Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ ได้สรุปแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีดังนี้
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อการทำงานที่ไม่สับสน2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพLuther Gulick การบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการ ให้ความสำคัญของการควบคุม การสั่งการ การประสานงาน คือ P คือการวางแผน (planning) , O คือการจัดองค์การ (organizing) , D คือการสั่งการ (directing) , S คือการบรรจุ (staffing) , CO คือการประสานงาน(co-ordinating) , R คือการรายงาน (reporting) , B คือการงบประมาณ (budgeting)
Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
1. ปัจจัยภายนอก เป็นแรงจูงใจที่สนองตอบต่อความต้องการภายนอกของคน ทำให้คนพึง พอใจได้ในเบื้องต้นและจะมีผลต่อคนอยู่ไม่นานนัก
2. ปัจจัยภายใน เป็นเกิดแรงจูงใจกับคนอยู่ได้นานกว่าปัจจัยภายนอก
Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาของเทย์เลอร์ได้แก่ ทำการศึกษางานด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดและใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์การคัดเลือกและการฝึกอบรมและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุด
Henry L. Gantt : ผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart)เป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น
Frank B. & Lillian M. Gilbreths : Time – and – Motion StudiesGilbreth เน้นการพัฒนา และความประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น