วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบ


แบบทดสอบปลายภาค



1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
แท็บเล็ต ( Tablet ) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกพาง่าย น้ำหนักเบา มีคีย์บอร์ดในตัว หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป
"แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" เป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย รูปแบบการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการเรียนรู้และแสวงหาด้วยตนเอง เปลี่ยนจากเน้นเนื้อหาในกรอบหลักสูตรมาเป็นเน้นทักษะ ความคิดและกระบวนการ โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง
การศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต มีทักษะและกระบวนการอ่าน การใช้แท็บเล็ตจึงต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้


2. อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
อาเซียน มีชื่อเต็มว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม , ราชอาณาจักรกัมพูชา , สาธารณรัฐอินโดนีเซีย , สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว , มาเลเซีย , สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียน-มาร์ , สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ , สาธารณรัฐสิงคโปร์ , ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ให้สามารถทำงานร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้อาเซียนมีความร่วมมือระหว่างกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การเกษตร อุตสาหกรรม การคมนาคม รวมทั้งการช่วยเหลือให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี โดยอินโดนีเซีย วางตัวเป็นผู้ส่งออกไปยังตะวันออกกลาง สิงคโปร์และมาเลเซียก็วางตัวเป็นผู้ผลิตบุคลากรส่งออกทางด้านการแพทย์
ประเทศไทยเป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง ภายใต้ยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์เดียว เอกลักษณ์เดียว และประชาคมเดียว เพื่อความเจริญมั่นคงของประชากร ทรัพยากร และเศรษฐกิจ
การศึกษาไทยจึงเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยการศึกษาเป็นกลไกในการปลูกฝังค่านิยม แนวความคิด ความเข้าใจกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ของอาเซียนและเศรษฐกิจโลก
ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนที่จบชั้น ป.6 สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคม โดยได้เร่งผลักดันและดำเนินการในหลายด้าน เช่น
1. สร้างศูนย์อำนวยการเพื่อให้ครูเจ้าของภาษามาสอน
2.พัฒนาการเรียนการสอนแบบ English for Integrated Studies (EIS) จะมีการบูรณาการการสอนภาษาอังกฤษในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3.พัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคต (The Global Class) ซึ่งเป็นห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงการเรียนการสอนได้อย่าง
4.การอบรมภาษาอังกฤษให้กับครู เพื่อให้ครูยุคใหม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ และใช้ ICT ได้
การเตรียมความพร้อมของการศึกษาไทย มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
๑. การสร้างประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ให้ประเทศไทยเป็น Education Hub มีการเตรียมความพร้อมในด้านกรอบความคิด พัฒนาสมรรถนะให้พร้อมจะอยู่ร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน การศึกษา โดยให้มีการร่วมมือกันใน ๓ ด้านคือ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา
๒. ขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน
ที่มา : สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ


3. อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น
" การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน (นักศึกษา )และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้ "
ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ด้านคือ
1.ศรัทธา คนเป็นครูต้องมีความศรัทธาในวิชาชีพของตนเอง ต้องมีความรักในความเป็นครู สามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กได้
2.ความไว้วางใจ ครูต้องสร้างความไว้วางใจกับครูผู้ร่วมงานและกับนักเรียนให้ได้ จะต้องปฏิบัติตนอย่างจริงใจกับนักเรียนให้นักเรียนไว้วางใจ เพราะเมื่อนักเรียนไว้วางใจครูแล้วนักเรียนก็จะสามรถปรึกษาครูได้ทุกเรื่องเมื่อมีปัญหา ทำให้ครูสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียนได้อย่างเต็มที่
3.สร้างแรงบันดาลใจ ครูจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง เพราะการสร้างแรงบันดาลใจจะทำให้มีพลังในการดำเนินชีวิต ในการเป็นครูที่ดีของนักเรียน เมื่อครูมีแรงบันดาลใจเป็นของตนเองแล้ว ครูก็สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนได้
4.ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล ครูจะต้องยอมรับให้ได้ว่ามนุษย์ทุกคนแตกต่างกัน ต่างพ่อต่างแม่ ต่างคนก็ต่างความคิด ดังนั้นครูจะต้องยอมรับฟังความคิดของนักเรียนทุกคนโดยที่รับฟังอย่างมีเหตุผล ไม่มีอคติกับนักเรียนคนใดคนหนึ่ง เพราะถือว่านักเรียนทุกคนเป็นลูกศิษย์ของเรา
ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน ควรมีพฤติกรรม 7 ประการ คือ
1. หาหนังสือที่ติดอันดับขายดีที่สุดมาอ่าน การหาหนังสือที่ติดอันดับขายดีที่สุดมาอ่านทำให้เราเป็นคนที่แสวงหาความรู้ใหม่ๆ ทำให้เรามีความรู้ใหม่ๆ หนังสือที่ขายดีย่อมมีข้อคิด คำสอน หรือเนื้อหาที่ดี ทำให้เราได้รู้ในหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังไม่รู้ และในบางเรื่องที่เรารู้แล้วเราอาจสามารถต่อยอดความรู้เดิมได้อีกด้วย
2. อยู่กับปัจจุบัน / ทันสมัย มนุษย์ทุกคนควรอยู่กับปัจจุบัน ไม่อยู่กับอดีตหรือเพ้อฝันถึงอนาคต เพราะอดีตเป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วเราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้แล้วนอกจากนำบทเรียนในอดีตมาแก้ไขปรับปรุงให้อยู่กับปัจจุบัน ครูทุกคนควรทำวันนี้ให้ดีที่สุด อยู่กับโลกปัจจุบัน และนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาปรับใช้ในชีวิต
3. หาข้อมูล มีความรู้เกี่ยวกับเด็ก ครูจะต้องมีความรู้ ความสามารถในศาสตร์วิชาชีพของตน และครูจะต้องมีข้อมูลพื้นฐานของเด็กแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเด็กในแต่ละช่วงวัยอายุ ว่าเด็กช่วงอายุไหนควรสอน ดูแล อบรมอย่างไรจึงจะเหมาะสม
4. ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ ครูจะต้องหาวิธีการสอนที่ตื่นเต้น น่าสนใจ และในการสอนแต่ละครั้งควรชักจูงให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน กระตุ้นให้นักเรียนกล้าแสดงออก ให้นักเรียนแสดงออกถึงการเป็นภาวะผู้นำ โดยทุกคนในชั้นเรียนสามารถเป็นผู้นำกันได้ทุกคน โดยผลัดเปลี่ยนกันไปตามสถานการณ์
5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ครูจะต้องให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม เพราะการทำงานเป็นกลุ่มจะทำให้เด็กมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนๆ มีการช่วยเหลือกัน มีการให้คำปรึกษาแนะนำกัน และที่สำคัญการทำงานเป็นกลุ่มจะทำให้เกิดความสามัคคีภายในหมู่คณะ
6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง การที่เด็กได้รับฟังวิทยากร จะทำให้เด็กได้รับความรู้ที่แปลกใหม่ ทำให้เด็กสนใจที่จะใฝ่รู้ เพราะวิทยากรแต่ละท่านจะถ่ายทอดความรู้ให้เด็กอย่างหลากหลาย และมีวิธีการถ่ายทอดที่แตกต่างกันออกไป ทำให้น่าสนใจค้นหา
7. ท้าทายให้เด็กได้คิด ครูควรจะฝึกให้เด็กคิดเอง มิใช่ป้อนความรู้ให้เพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้เด็กไม่กล้าที่จะคิด ไม่มั่นใจกับความคิดของตนเอง ครูจึงควรเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่ โดยครูเป็นผู้รับฟังความคิดของนักเรียนอย่างตั้งใจ และยอมรับความคิดที่แตกต่างของนักเรียนทุกคน


4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
การเรียนรู้โดยใช้บล็อก เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามามาส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถหาความรู้ได้ตลอดเวลา สะดวก และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ผมมีวิธีการเรียนรู้โดยใช้บล็อก คือ ผมจะศึกษาหาความรู้ และจะทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้โดยการศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆ แล้วนำมาประมวลเป็นความรู้ของตนเอง หลังจากนั้นก็นำมาโพสลงในบล็อก และผมยังได้ศึกษาหาความรู้ โดยการอ่านบทความในบล็อกของอาจารย์ และของเพื่อนๆ ทำให้ผมได้รับความรู้ที่หลากหลาย
หากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อกต่อไป ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนี้ทำให้ทุกคนได้แสดงออกทางความคิดของตนเองอย่างเต็มที่ ทุกคนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองทุกที่ ทุกเวลา และเป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ด้วย
ผมคิดว่าโอกาสข้างหน้าทุกคนจะให้ความสำคัญในการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนี้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะที่โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาต่างๆก็ให้ความสำคัญ เพราะการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนี้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดของตนเองอย่างเต็มที่
ผมจะให้คะแนนวิชานี้ คือ ถ้าคะแนนเต็ม 10 ผมจะให้เต็ม 10 เพราะการจัดการเรียนรู้โดยใช้บล็อกเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามามาส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถหาความรู้ได้ตลอดเวลา สะดวก และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
ผมต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ คือเกรด A เพราะ
1. ผมมีความพยายามมากในการเรียนวิชานี้ ผมมีความพยายามในการนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน นั่นคือโน้ตบุ๊คมาเรียนวิชานี้ทุกครั้ง เมื่อโน้ตบุ๊คของผมเข้าอินเตอร์เน็ตไม่ได้ ก็สามารถทำงานที่อาจารย์สั่งได้ ผมก็มีความกระตือรือร้นที่จะทำงานและเรียนรู้
2. ผมเข้าเรียนเกือบทุกครั้ง ขาดไปครั้งหนึ่งเนื่องจากติดธุระแล้วมาไม่ทัน
3. ผมทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4. ผมทำงานบนบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น

กิจกรรทที่ 9


กิจกรรมที่ 9 จัดชั้นเรียนอย่างไรให้น่าสนใจ การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าสนใจ



สำหรับผมในการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าสนใจนั้น
ผมจะจัดวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ
การเรียนการสอน รวมไปถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เสริมความรู้ เช่น ป้าย
นิเทศ มุมวิชาการ ชั้นวางหนังสือ โต๊ะวางสื่อการสอน ฯลฯ ให้
เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดความสบายตา สบายใจ แก่นักเรียน และผ้ที่พบเห็น

1.การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน
- ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
- ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
- ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
- ให้มีรูปแบบ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
- ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
- แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ

2.การจัดโต๊ะครู
- ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ เพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
- ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน

3. การจัดป้ายนิเทศ
- จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แก่นักเรียน อาจจะใช้ภาพการ์ตน ที่มีสาระและน่าสนใจ สดดตา
- จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
- จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
- จัดติดผลงานของนักเรียนความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง

กิจกรรทที่ 8


กิจจกรรมที่ 8 ครูมืออาชีพรุ่นใหม่ควรเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด





ครูมืออาชีพรุ่นใหม่
การที่จะเป็นครูมืออาชีพนั้นต้องมีความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้

1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน


2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น


3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้


4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน


5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น


6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน


7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน


8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้



และการเป็นครูมืออาชีพนั้นต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
1. ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน


2. ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ


3. ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ


ครูมืออาชีพต้องมีคุณภาพการสอน สิ่งที่ครูมืออาชีพควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือ "คุณภาพการสอน"คับ

 

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาค

กิจกรรมทดสอบกลางภาค
บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว ของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล
วารสารทักษิณ

1. ขอสรุปที่ได้จากบทความ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความรักต่อปวงชนชาวไทยมากที่สุด ซึ่งไม่มีพระมหากษัตริย์ประเทศใดแล้ว ที่เห็นความสำคัญกับปวงประชาการมากเพียงนี้  ไม่ว่าประชากรไทยอยู่ถิ่นไหน ท่านก็เสด็จไปถึงถิ่นนั้น เพื่อปกปักษ์รักษาดวงใจทุกดวงบนแผ่นดินไทยแห่งนี้ให้มีความอุดมสมบูรณ์สุขมากที่สุด
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูของแผ่นดิน  เราจะเห็นว่าท่านมีโครงการมากมายในการพัฒนาประเทศ   ท่านได้ทำในสิ่งที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้และมีคุณค่ามากมาย เช่น โครงการแก้มลิง  โครงการการปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น  ซึ่งเราจะเห็นว่าการที่พระองค์ได้เสด็จไปที่ไหนแล้วที่นั่นก็จะมีการพัฒนา ถ้าเทียบกับการศึกษาคือ จะเรียนรู้ได้ดีต้องลงมือปฏิบัติและสัมผัสกับของจริง
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดค้นการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการอยู่ดี กินดี ของปสกนิกรชาวไทยให้ผ่านพ้นจากภัยการขาดแคลนของอาหารและข้าวของแพง ทำให้ปสกนิกรชาวไทยดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข
2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
            ถ้าผมเป็นครูผมจะสอนให้นักนักเรียนรู้จักใช้ความคิด กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ และรู้จักแก้ไขปัญหา เน้นการทำงานเป็นทีมอยู่กันอย่างสามัคคีรักใคร่กลมเกลียว(แตกต่างแต่ไม่แตกแยก) เน้นการสอนแบบบูรณาการ สอนแบบลงมือปฎิบัติจริง นักเรียนทุกคนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิติประจำวันและชุมชุมของตัวเองได้

3. ในฐานะนักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
            ในฐานะที่ผมเป็นครูในอนาคต ผมจะสอนแบบบูรณาการสามารถประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆ และสอนแบบลงมือปฏิบัติจริง ผมจะเป็นแบบอย่างที่ดีต่อลูกศิษย์ทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม และการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
           
2.บทความเรื่อง วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ (วารสาร

ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรอ่านหน้าที่

125-128)

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

สตีฟ จ๊อบส์ คือ เป็นคนมีความพากเพียรพยายาม ขยัน และตั้งใจที่จะทำสิ่งที่คาดหวังให้บรรลเป้าหมาย เค้าอาจเป็นคนที่มีการศึกษาไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจเขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจากมันสมองอัญชาญฉลาดของเขาสิ่งที่สร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญากว่าเขาจะมาถึงวันนี้เข้าต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆๆมากมายแต่ก็สามารถพ้นผ่านมาได้จนได้ จนกลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน


2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร

ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ได้และทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใด

ก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และจะรักศิษย์ทุกๆคนเท่ากันไม่ว่าเขาจะเรียนเก่งหรือไม่เก่งก็ตามและจะคอยให้คำปรึกษาเวลานักเรียนมีปัญหาต่างๆ

 

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร


สอนเรื่องความสามัคคี

1.ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องความสามัคคี

2.เรียบเรียงข้อมูลความสามัคคีที่จะนำมาสอน

3.เขียนจุดประสงค์การสอน

4.นำข้อมูลมาทำสื่อเรียนการสอน เช่น PowerPoint ใบความรู้แจกนักเรียน เป็นต้น

5.ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี

การสอน

1.นำเสนอสื่อการสอน PowerPoint เรื่องความสามัคคี

2.แจกใบความรู้นักเรียนเรื่องความสามัคคี

3.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแล้วให้สรุปสิ่งที่ได้รับแล้วให้ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี

4.นักเรียนนำเสนอ Mind Map เรื่องความสามัคคี หน้าชั้นเรียน

5.เมื่อนำเสนอเสร็จก็ให้บันทึกสิ่งที่ได้รับใบความรู้เรื่องความสามัคคี ที่แจกให้

6. ให้คะแนนความสามัคคีภายในกลุ่มจากการสังเกตของครูในแต่ละกลุ่ม

 

 

 

 



กิจกรรมที่ 7

กิจกรรมที่ 7 โทรทัศน์ครู

1. สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน
เรื่อง... การดูแลใส่ใจห่วงใยสิ่งแวดล้อม
ชื่ออาจารย์... อาจารย์สชญา หล้าอินเชื้อ
ระดับชั้น... มัธยมศึกษาปีที่ 6

2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง

เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เรียนรู้จากสถานการณ์จริง กับชุมชนที่เกิดปัญหาจริง ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ธรรมชาติของชุมชน เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน ทำให้นักเรียนกล้าและสามารถดำเนินการได้เองเหมาะสมกับวุฒิภาวะของนักเรียน ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งการจัดกิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนรู้จักคิดวางแผนการทำงานและประสานงานกับผู้อื่นได้ และครูสอนความเป็นประชาธิปไตยให้นักเรียนด้วยโดยการใช้เสียงส่วนใหญ่เลือกทำโครงการ เป็นการสอนที่ดีมากคับ
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน
(สติปัญญา=IQ

-ปลูกฝังและปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนรู้จักคิดรู้จักวิเคราะห์และการดแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวและเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน
- ทำให้นักเรียนรู้จักคิดวางแผนการทำงานและประสานงานกับผู้อื่นได้

อารมณ์=EQ,
- ทำให้นักเรียนมีความสนกสนานเพลิดเพลิน
- ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความสนใจและมีความสขที่จะเรียนและทำกิจกรรม

คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
- นักเรียนเกิดความสามัคีช่วยเหลือในการทำงาน มีคณธรรมจริธรรม
- ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ธรรมชาติของชุมชน เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน ทำให้นักเรียนกล้าและสามารถดำเนินการได้เองเหมาะสมกับวุฒิภาวะของนักเรียน

4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
โทรทัศน์ครู

บรรยากาศการจัดห้องเรียนมีความเหมาะสมโดยมีโต๊ะของคุณครูตั้งอยู่หน้าห้องเรียนซึ่งสามารถมองเห็นเด็กๆ ได้อย่างทั่วถึงและจัดให้เด็กนั่งเป็นกลุ่มๆ เพื่อสะดวกต่อการทำงานเป็นกลุ่ม บริเวณห้องมีพื้นที่ว่างพอสมควรไม่คัดแคบจนเกินไป อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีสื่อการเรียนรู้ติดอยู่รอบๆ ห้องเรียนทำให้เด็กเกิดความสนใจและมีความสขกับการเรียน

กิจกรรมที่ 6

กิจกรรมที่ 6


กิจกรรมที่ 5


ประวัติครูเพ็ญทิพย์ กองวารี

 
ชื่อ นางเพ็ญทิพย์ กองวารี อายุ 54 ปี เกิดวันอาทิตย์ที่ 22 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2498
ตำแหน่ง ครู อันดับ คศ. 3 วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ( สอน ม. 4 และ ม. 5 )
โรงเรียนท่าเรือ " นิตยานุกูล" อำเภอท่าเรือ เขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี วิชาเอก สังคมศึกษา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพิษณุโลก
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
อายุราชการ 32 ปี ภูมิลำเนาเดิม อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
# รางวัลเกียรติยศที่สำคัญ ๆ ได้แก่
- รับพระราชทาน เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 สภากาชาดไทย
- ครูต้นแบบ ปี2544 (สกศ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
- ครูต้นแบบ รางวัลช้างทองคำ ปี 2545 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- ครูเกียรติยศ - ครูต้นแบบ ปี 2545 กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
- ครูดีในดวงใจ ปี 2548 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
- คุรุสดุดี ปี 2548 คุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
- โล่เกียรติคุณ ครูผู้อุทิศตนสร้างคุณประโยชน์แก่โรงเรียนและชุมชน ครบรอบ 40 ปี
โรงเรียนปรางค์กู่ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จาก คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
- โล่ศิษย์เก่าดีเด่น ปี 2553 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก
( มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก )
( 2 ) คู่สมรส นายสุรพันธุ์ กองวารี นายอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี
( มาดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 )
เกิดวันพฤหัสบดีที่ 24 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2494
ภูมิลำเนาเดิม อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วุฒิการศึกษา ปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์
จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ ( นิด้า )