วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาค

กิจกรรมทดสอบกลางภาค
บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว ของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล
วารสารทักษิณ

1. ขอสรุปที่ได้จากบทความ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความรักต่อปวงชนชาวไทยมากที่สุด ซึ่งไม่มีพระมหากษัตริย์ประเทศใดแล้ว ที่เห็นความสำคัญกับปวงประชาการมากเพียงนี้  ไม่ว่าประชากรไทยอยู่ถิ่นไหน ท่านก็เสด็จไปถึงถิ่นนั้น เพื่อปกปักษ์รักษาดวงใจทุกดวงบนแผ่นดินไทยแห่งนี้ให้มีความอุดมสมบูรณ์สุขมากที่สุด
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูของแผ่นดิน  เราจะเห็นว่าท่านมีโครงการมากมายในการพัฒนาประเทศ   ท่านได้ทำในสิ่งที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้และมีคุณค่ามากมาย เช่น โครงการแก้มลิง  โครงการการปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น  ซึ่งเราจะเห็นว่าการที่พระองค์ได้เสด็จไปที่ไหนแล้วที่นั่นก็จะมีการพัฒนา ถ้าเทียบกับการศึกษาคือ จะเรียนรู้ได้ดีต้องลงมือปฏิบัติและสัมผัสกับของจริง
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดค้นการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการอยู่ดี กินดี ของปสกนิกรชาวไทยให้ผ่านพ้นจากภัยการขาดแคลนของอาหารและข้าวของแพง ทำให้ปสกนิกรชาวไทยดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข
2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
            ถ้าผมเป็นครูผมจะสอนให้นักนักเรียนรู้จักใช้ความคิด กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ และรู้จักแก้ไขปัญหา เน้นการทำงานเป็นทีมอยู่กันอย่างสามัคคีรักใคร่กลมเกลียว(แตกต่างแต่ไม่แตกแยก) เน้นการสอนแบบบูรณาการ สอนแบบลงมือปฎิบัติจริง นักเรียนทุกคนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิติประจำวันและชุมชุมของตัวเองได้

3. ในฐานะนักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
            ในฐานะที่ผมเป็นครูในอนาคต ผมจะสอนแบบบูรณาการสามารถประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆ และสอนแบบลงมือปฏิบัติจริง ผมจะเป็นแบบอย่างที่ดีต่อลูกศิษย์ทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม และการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
           
2.บทความเรื่อง วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ (วารสาร

ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรอ่านหน้าที่

125-128)

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

สตีฟ จ๊อบส์ คือ เป็นคนมีความพากเพียรพยายาม ขยัน และตั้งใจที่จะทำสิ่งที่คาดหวังให้บรรลเป้าหมาย เค้าอาจเป็นคนที่มีการศึกษาไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจเขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจากมันสมองอัญชาญฉลาดของเขาสิ่งที่สร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญากว่าเขาจะมาถึงวันนี้เข้าต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆๆมากมายแต่ก็สามารถพ้นผ่านมาได้จนได้ จนกลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน


2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร

ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ได้และทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใด

ก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และจะรักศิษย์ทุกๆคนเท่ากันไม่ว่าเขาจะเรียนเก่งหรือไม่เก่งก็ตามและจะคอยให้คำปรึกษาเวลานักเรียนมีปัญหาต่างๆ

 

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร


สอนเรื่องความสามัคคี

1.ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องความสามัคคี

2.เรียบเรียงข้อมูลความสามัคคีที่จะนำมาสอน

3.เขียนจุดประสงค์การสอน

4.นำข้อมูลมาทำสื่อเรียนการสอน เช่น PowerPoint ใบความรู้แจกนักเรียน เป็นต้น

5.ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี

การสอน

1.นำเสนอสื่อการสอน PowerPoint เรื่องความสามัคคี

2.แจกใบความรู้นักเรียนเรื่องความสามัคคี

3.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแล้วให้สรุปสิ่งที่ได้รับแล้วให้ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี

4.นักเรียนนำเสนอ Mind Map เรื่องความสามัคคี หน้าชั้นเรียน

5.เมื่อนำเสนอเสร็จก็ให้บันทึกสิ่งที่ได้รับใบความรู้เรื่องความสามัคคี ที่แจกให้

6. ให้คะแนนความสามัคคีภายในกลุ่มจากการสังเกตของครูในแต่ละกลุ่ม

 

 

 

 



กิจกรรมที่ 7

กิจกรรมที่ 7 โทรทัศน์ครู

1. สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน
เรื่อง... การดูแลใส่ใจห่วงใยสิ่งแวดล้อม
ชื่ออาจารย์... อาจารย์สชญา หล้าอินเชื้อ
ระดับชั้น... มัธยมศึกษาปีที่ 6

2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง

เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เรียนรู้จากสถานการณ์จริง กับชุมชนที่เกิดปัญหาจริง ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ธรรมชาติของชุมชน เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน ทำให้นักเรียนกล้าและสามารถดำเนินการได้เองเหมาะสมกับวุฒิภาวะของนักเรียน ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งการจัดกิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนรู้จักคิดวางแผนการทำงานและประสานงานกับผู้อื่นได้ และครูสอนความเป็นประชาธิปไตยให้นักเรียนด้วยโดยการใช้เสียงส่วนใหญ่เลือกทำโครงการ เป็นการสอนที่ดีมากคับ
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน
(สติปัญญา=IQ

-ปลูกฝังและปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนรู้จักคิดรู้จักวิเคราะห์และการดแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวและเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน
- ทำให้นักเรียนรู้จักคิดวางแผนการทำงานและประสานงานกับผู้อื่นได้

อารมณ์=EQ,
- ทำให้นักเรียนมีความสนกสนานเพลิดเพลิน
- ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความสนใจและมีความสขที่จะเรียนและทำกิจกรรม

คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
- นักเรียนเกิดความสามัคีช่วยเหลือในการทำงาน มีคณธรรมจริธรรม
- ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ธรรมชาติของชุมชน เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน ทำให้นักเรียนกล้าและสามารถดำเนินการได้เองเหมาะสมกับวุฒิภาวะของนักเรียน

4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
โทรทัศน์ครู

บรรยากาศการจัดห้องเรียนมีความเหมาะสมโดยมีโต๊ะของคุณครูตั้งอยู่หน้าห้องเรียนซึ่งสามารถมองเห็นเด็กๆ ได้อย่างทั่วถึงและจัดให้เด็กนั่งเป็นกลุ่มๆ เพื่อสะดวกต่อการทำงานเป็นกลุ่ม บริเวณห้องมีพื้นที่ว่างพอสมควรไม่คัดแคบจนเกินไป อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีสื่อการเรียนรู้ติดอยู่รอบๆ ห้องเรียนทำให้เด็กเกิดความสนใจและมีความสขกับการเรียน

กิจกรรมที่ 6

กิจกรรมที่ 6


กิจกรรมที่ 5


ประวัติครูเพ็ญทิพย์ กองวารี

 
ชื่อ นางเพ็ญทิพย์ กองวารี อายุ 54 ปี เกิดวันอาทิตย์ที่ 22 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2498
ตำแหน่ง ครู อันดับ คศ. 3 วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ( สอน ม. 4 และ ม. 5 )
โรงเรียนท่าเรือ " นิตยานุกูล" อำเภอท่าเรือ เขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี วิชาเอก สังคมศึกษา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพิษณุโลก
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
อายุราชการ 32 ปี ภูมิลำเนาเดิม อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
# รางวัลเกียรติยศที่สำคัญ ๆ ได้แก่
- รับพระราชทาน เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 สภากาชาดไทย
- ครูต้นแบบ ปี2544 (สกศ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
- ครูต้นแบบ รางวัลช้างทองคำ ปี 2545 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- ครูเกียรติยศ - ครูต้นแบบ ปี 2545 กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
- ครูดีในดวงใจ ปี 2548 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
- คุรุสดุดี ปี 2548 คุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
- โล่เกียรติคุณ ครูผู้อุทิศตนสร้างคุณประโยชน์แก่โรงเรียนและชุมชน ครบรอบ 40 ปี
โรงเรียนปรางค์กู่ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จาก คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
- โล่ศิษย์เก่าดีเด่น ปี 2553 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก
( มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก )
( 2 ) คู่สมรส นายสุรพันธุ์ กองวารี นายอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี
( มาดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 )
เกิดวันพฤหัสบดีที่ 24 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2494
ภูมิลำเนาเดิม อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วุฒิการศึกษา ปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์
จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ ( นิด้า )

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4

   สรุป
                การทำงานเป็นทีม  เป็นการนำเอาความคิดหลากหลายความคิดของหลาย ๆ  บุคคลมาสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ให้สำเร็จลุล่วง
                บุคคลแต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกัน  ดังนั้นจึงต้องเป็นบุคคลที่ยอมรับฟังความคิดของผู้อื่น  ซึ่งหลายความคิดมารวมกันย่อมดีกว่าความคิดเดียว  เพราะฉะนั้น  หลายหัวดีกว่าหัวเดียวแน่นอน
1.แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร
1.1การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
 -  ร่างกาย   จิตใจ   -  อารมณ์   ความรู้สึก   บุคลิกภาพ   ความเชื่อถือ   ค่านิยม  
  การรับรู้   ประสบการณ   อื่น
1.2  แรงจูงใจของมนุษย์
 -  ความต้องการทางด้านร่างกาย   ความต้องการความมั่นคง  
  ความต้องการทางสังคม  -  ความต้องการที่จะมีชื่อเสียง  
  ความต้องการความสมหวังในชีวิต
1.3  ธรรมชาติของมนุษย์
 -  มนุษย์พฤติกรรม   มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิด   มนุษย์มีปัญญา

2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ               สมาชิกทุกคนต้องให้ความสำคัญในการทำงานทีม  ต้องเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้อย่างชัดเจน  ต้องเปิดเผยจริงใจและร่วมมือกันแก้ปัญหา  สนับสนุนกัน  ไว้วางใจกัน  ยอมรับและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 
        เช่น  ไปออกค่ายสังคมศึกษา จำเป็นที่สมาชิกทุกคนต้องให้ความร่วมมือเห็นความสำคัญ  ช่วยกัน
วางแผนงานเป็นอย่างดี  หลายความคิดของหลายบุคคลจะทำให้งานออกมามีความหลากหลาย  นัดประชุมกันเพื่อวางแผนงานทุกอย่าง  มองหมายงานให้แก่ผู้รับผิดชอบในส่วนนั้นๆ  ผู้ถูกได้รับการมอบหมายก็จำเป็นต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด 

กิจกรรมที่ 3

 

1. การจัดการเรียนการสอน  จัดชั้นเรียน  เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร 
ในยุคศตวรรษที่  21  การจัดการเรียนการสอน  จัดชั้นเรียน  เตรียมการสอน  จะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย  ทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการเรียนได้หลากหลาย  มีแหล่งให้ศึกษาค้นคว้าที่กว้างไกล  มีความทันสมัย  รวดเร็วทันใจ  ศึกษาค้นคว้าง่าย  ผู้สอน  มีอุปกรณ์เครื่องมือและวิธีการสอนที่แตกต่างกัน  หลากหลายรูปแบบ  เช่น  ใช้  Internet  เป็นสื่อกลางการเรียนรู้  ชั่งเป็นยุคแห่งการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการเรียนการสอนให้กว้างไกลได้อย่างลงตัว
ส่วนในยุคก่อนศตวรรษที่  21  การจัดการเรียนการสอน  จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน  จะเป็นรูปแบบที่มีการเรียนการสอนแต่ในห้องเรียน  ผู้สอนสอนแต่ในตำรา  ยึดหลักตำรา  อาศัยความจำ  มีการท่องจำมากกว่าการที่ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าเอาเอง

2. ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุคต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
-   จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน
-   ใช้วิธีการในการสอนที่หลากหลายไม่จำเจ
-   เปิดโลกกว้างให้แก่ผู้เรียน
-    รับฟังความมคิดของผู้เรียน
-    ยึดผู้เรียนเป็นหลัก

กิจกรรมที่ 2



ทฤษฎีการบริหารการศึกษา
มาสโลว์ กับทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ อันเป็นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งมาสโลว์ได้แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้ ความต้องการทางกายภาพ ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการยกย่องชื่อเสียง ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิตDouglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ทฤษฎีการมองต่างมุม
ทฤษฎี X เป็นพวกที่ไม่เกิดการพัฒนาตนเอง ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบทำงาน หลีกเลี่ยงการทำงานทฤษฎี Y เป็นพวกที่พัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน
แมคเกรเกอร์จึงเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงมุมมองจากทฤษฎี X เป็นทฤษฎี Y
William Ouchi : ทฤษฎี Z กลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นการบริหารจัดการจากพื้นฐานของบุคคล
ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบจ้างงานตลอดชีวิตและการตัดสินต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุม วิลเลี่ยม โอชิ นำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z
Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่ประกอบด้วยกิจกรรม 5 อย่างคือ
1. การวางแผน(Planning)
2. การจัดองค์การ(Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)
Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ ได้สรุปแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีดังนี้
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อการทำงานที่ไม่สับสน2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพLuther Gulick การบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการ ให้ความสำคัญของการควบคุม การสั่งการ การประสานงาน คือ P คือการวางแผน (planning) , O คือการจัดองค์การ (organizing) , D คือการสั่งการ (directing) , S คือการบรรจุ (staffing) , CO คือการประสานงาน(co-ordinating) , R คือการรายงาน (reporting) , B คือการงบประมาณ (budgeting)
Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
1. ปัจจัยภายนอก เป็นแรงจูงใจที่สนองตอบต่อความต้องการภายนอกของคน ทำให้คนพึง พอใจได้ในเบื้องต้นและจะมีผลต่อคนอยู่ไม่นานนัก
2. ปัจจัยภายใน เป็นเกิดแรงจูงใจกับคนอยู่ได้นานกว่าปัจจัยภายนอก
Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาของเทย์เลอร์ได้แก่ ทำการศึกษางานด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดและใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์การคัดเลือกและการฝึกอบรมและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุด
Henry L. Gantt : ผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart)เป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น
Frank B. & Lillian M. Gilbreths : Time – and – Motion StudiesGilbreth เน้นการพัฒนา และความประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน

กิจกรรมที่ 1 การบริหารการศึกษา


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา


ความหมายของคำว่า การบริหาร การศึกษา การบริหารการศึกษา 
        การบริหาร  หมายถึง  การที่บุคคลตั้งแต่  2  คนขึ้นไปร่วมกันทำงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้

        การศึกษา  หมายถึง  การจัดการจัดการเรียนรู้  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์  และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ทางด้านความคดความคิด

        การบริหารการศึกษา  หมายถึง  การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล  เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพในด้านต่างๆ  เช่น  ความรู้  ความสามารถ  พฤติกรรมและคุณธรรม

แนะนำตัวเอง


ชื่อ   นายอับดุลเลาะห์  หมิดติ้ง (เลาะห์)
วันเกิด     วันที่ 6 ตุลาคม 2533
กำลังศึกษาอยู่     คณะครุศาสตร์  สาขาวิชาสังคมศึกษา รหัส                                                5311116160 มหาวิททยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ที่อยู่    81/1 ม.2  ต.นาทวี  อ.นาทวี จ. สงขลา 90160
คติ    ยึดหลักความเป็นจริง พึ่งพิงหลัดเศรษฐกิจพอเพียง
อาหารจานโปรด   เครื่องแกงเนื้อ + ไข่เจียว
สีที่ชอบ   น้ำเงิน  เขียว
งานอดิเรก     อ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียน